วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหา

  • การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา
  • แจกไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมัน เพื่อสร้างรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ ตามคำสั่งคุณครู โดยมีกระบวนการดังนี้

  1. วิเคราะห์โจทย์
  2. ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
  3. ลงมือทำ
  4. ผลงาน
  5. นำเสนอ 

หลัก ATEM
  • S = Science
  • T = technology
  • E = engineering
  • M = mathematics
ผลงาน
 รูปสามเหลี่ยม

รูปทางสามเหลี่ยม

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า



 รูปทางสี่เหลี่ยมรูปว่าว

         เพื่อนทุกคนในห้องได้รับโจทย์มาเหมือนกัน แต่ชิ้นงานที่ออกมา มีความแตกต่างกัน เพราะ วัสดุที่ได้รับไปมีขนาดที่หลากหลาย และจินตนาการของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน ผลงานที่ออกมาจึงไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกคน ดังนั้น การจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ครูไม่ควรบังคับ หรือปิดกั้นจินตนาการเด็กๆ แต่ควรเป็นผู้ คอยช่วยเหลือ แนะนำ และคิดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีกรอบมาปิดกั้น



ทักษะ
  • คิดวิเคราะห์
  • การแก้ปัญหา
  • รูปร่าง รูปทรง

การประยุกต์ใช้


  • นำไปจัดกิจกรรม ที่มีลักษณะไม่ปิดกั้นจินตนาการของเด็ก มีวัสดุที่หลากหลายทำให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเด็มที่

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เป็นกันเอง
  • อุปกรณ์อาจไม่สมบูรณ์ 


การจัดการเรียนการสอน

  • การแสดงความคิดเห็น
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การบรรยาย

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหา

  • แจกกระดาษ ทำช่องสี่เหลี่ยมขนาด 10 x 2 ช่อง และ 10 x 4 ช่องแล้วต่อรูปให้ได้มากที่สุด 
  • ให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับสิ่งของเพื่อนำมาสร้างภาพในแผ่นกระดาษ
  • การลงมือทำที่จับต้องได้ เป็น การลงมือทำอย่างอิสระเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
  • นำเสนอบทความ
  • นำเสนอตัวอย่างการสอน
  • นำเสนอวิจัย
  • การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
นำเสนอบทความ เรื่อง การปลูกฝังลูก
  1. เสริมคณิตถ้าคิดจะซื้อ
  2. เล่นกับลูกเล่นกับเลข
  3. เข้าครัวกับตัวเลข
  4. เวลานำจำนวน
#การเรียนรู้คือการลงมือทำกับสิ่งของที่เป็นรูปธรรม

นำเสนอตัวอย่างการสอน 
แบ่งเด็กเป็น 3 ช่วงชั้น
  1. อนุบาล โดยการประดิษฐ์สัญลักษณ์
  2. ประถม โดยการเรียนให้สนุก สร้างเรื่องราวขั้น
  3. ประถมปลาย ตั้งกลุ่มเสริมสร้างความมั่นใจ (เด็กพิเศษ)
นำเสนอวิจัย การส่งเสริมทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย
  1. ผู้ปกครองชวนเด็กสำรวจสิ่งของภายในบ้านที่มีลักษณะเป็นวงกลม
  2. ผู้ปกครองถามเด็ก ให้เด็กตอบผู้ปกรอง
  3. ผู้ปกครองรายงานผลกับครูประจำชั้น

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach


ทักษะ
  • การสืบเสาะ

การประยุกต์ใช้


  • นำไปเขียนแผนการเรียนให้มีการปฏิบัติได้ลงมือกระทำ เพื่อเหมาะสมกับพัฬนาการสัมพันธฺ์กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
  • นำการจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach ไปใช้สอนจริง

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นศ.ได้คิด ได้แสดงความคิดเห็น
  • บรรยากาศครึ้มๆ อาจเกิดอาการง่วงเล็กน้อย


การจัดการเรียนการสอน

  • การแสดงความคิดเห็น
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การบรรยาย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เนื้อหา

  • ปฏิทิน
  • ตารรางเวรประจำวัน
  • เกมการศึกษา
  • นำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ทักษะ
  • การจัดหมวดหมู่
  • การคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
  • นำเพลงมาประกอบการสอนในหน่วยต่างๆ 
  • สร้างความเพลิดเพลิน
  • เก็บเด็ก

บรรยากาศในชั้นเรียน

  • มีความเป็นกันเอง


การจัดการเรียนการสอน

บันทึกการเรียน (ชดเชย) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559


บันทึกการเรียน ชดเชย
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เนื้อหา
  • กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
  • ทำตารางเวลามาโรงเรียน 

ประสบการณ์ที่เด็กได้
  • การนับ
  • จำนวน
  • ตัวเลข (ภาษา)
  • เวลา
  • การแบ่งกลุ่ม

พัฒนาการ
  • อายุ 2-3 ขวบ ครูเขียนให้เด็กดู
  • อายุ 3-4 ขวบ ทำบัตรตัวเลข
  • อายุ 4-5 ขวบ เขียนเส้นประ
#การปฏิบัติ = วิธีการเรียนรู้ของเด็ก


กรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์

          แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของสสวท. ประกอบด้วย
                สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                สาระที่ 2 การวัด
                สาระที่ 3 เรขาคณิต
                สาระที่ 4 พีชคณิต/แบบรูปความสัมพันธ์
                สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย สสวท.
                ค.ป.  1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                ค.ป.  2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
                ค.ป.  3.1 : รู้จักการใช้คำศัพท์ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
                ค.ป.  3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
                ค.ป.  4.1 : เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
                ค.ป.  5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
                ค.ป.  6.1 : มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสารและการสื่อ

การประยุกต์ใช้
  • · นำไปจัดเป็นสื่อการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้ถามและตอบคำถามด้วยตนเอง


การจัดการเรียนการสอน
  •  เรียนรู้จากประสบการณ์เดิม
  • ระดมความคิด


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 29 มกราคม 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559

เนื้อหา

  • ตัดกระดาษแข็งแผ่นเล็ก ออกเป็น 2 ส่วน
  • เขียนชื่อลงบนกระดาษที่ตัดแบ่ง
  • แปะกระดาษลงกระดานหน้าห้อง เป็น 2 ฝั่ง เขียนว่า มา/ไม่มา
  • นำเสนอ บทความ
  • นำเสนอวิจัย

บทความ
เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-      เด็กได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
-      เชือมโยงจากประสบการณ์เดิม
-      ใช้สื่อจริงในการจัดการเรียนการสอน
-      สอนจากชีวิตประจำวัน

วิธีการสอน
เรื่อง เลขฐานสิบ
-      สอนแบบรูปธรรมและนามธรรม
-      เด็กเห็นภาพในการคำนวน
-      ต่อยอดจากเลขน้อยไปเลขมากโดยใช้ฐานเลขเดิม
-      สอนโดยแทนค่าในหลักสิบ
-      สอนโดยใช้การเชื่อมโยง

วิจัย
เรื่อง เปรียบเทียบทักษะพื้นฐาน เด็กชายหญิงอายุ 3-4 ปี
-      การประกอบอาหาร
-      ขั้นการสอน = ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ ขั้นสรุป
-      เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัส
-      การชิมรสอาหาร
-      การฟังที่ครูสอน
  

ทักษะ
  • ทักษะการคิด – เด็กสามารถวิเคราะห์จากข้อมูลในชีวิตประจำวันได้
  • ทักษะการนับ - เด็กได้นับจำนวนของเพื่อนในห้อง
  • ทักษะการแบ่งกลุ่ม - เด็กรู้จักแยกกลุ่มคนที่มาและไม่มา
  • ทักษะการเปรียบเทียบ - เด็กได้รู้คำศัพท์มากขึ้น เช่น มากกว่า น้อยกว่า





การประยุกต์ใช้
  •  สามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากชีวิตประจำวันของเด็กมาเชื่อมโยงกับกิจกรรมคณิตศาสตร์ได้อย่างดี เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายและนำมาใช้ได้จริงสร้างทักษะหลายด้านให้กับเด็ก


บรรยากาศในชั้นเรียน

  • นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้ถามและตอบคำถามด้วยตนเอง
  • บรรยากาศอบอุ่น


การจัดการเรียนการสอน
  •  ตั้งประเด็นปัญหา
  •  เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้รวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี
  •  เรียนรู้จากประสบการณ์เดิม
  •  ระดมความคิด
  • สรุปความคิดร่วมกัน