วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 28 เมษายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
วันที่ 28 เมษายน 2559

เนื้อหา
  • นำเสนอนิทานในหน่วยยานพาหนะของวันศุกร์ ในเรื่อง โทษของยานพาหนะ
  • วิธีการเขียนแผนการสอน


นิทานเรื่อง ลูกหมูเที่ยวทะเล



การเขียนแผน เรื่อง ยานพาหนะ

สาระที่ควรเรียนรู้ : สิ่งต่างๆ รอบตัว
เนื้อหา 
1.ประเภทของยานพาหนะ
2.ลักษณะของยานพาหนะ
3.วิธีการดูแลรักษา
4.ประโยชน์ของยานพาหนะ
5.โทษของยานพาหนะ
แนวคิด : ยานพาหนะเป็นสิ่งต่าง ๆรอบตัว  มีทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ มีลักษณะเช่น สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จะต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีทั้งประโยชน์และอันตรายที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะ


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การสังเคราะห์
  • การแก้ไขปัญหา
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
  • การนำไปสอนจริงได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนมีความสะดวกสบาย เป็นกันเอง  อาจารย์ แนะนำเทคนิควิธีการอย่างมากมายเป็นอย่างดี
การจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 22 เมษายน 2559 (ชดเชย)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
วันที่ 22 เมษายน 2559 (ชดเชย)

เนื้อหา

  • ทำนิทานจากหน่วย ในวันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของยานพาหนะ
  • เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 5 แผน ตามหน่วยของตนเอง
ผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ประเภทของยานพาหนะ วันจันทร์ ของ นางสาว ธารารัตน์ โพธิ์ประสาท

หน่วย ยานพาหนะ
เรื่อง ประเภทของยานพาหนะ
วันที่สอน วันจันทร์ ชั้น  อนุบาล 2 อายุ 5 ขวบ

วัตถุประสงค์
1.รู้จักประเภทของยานพาหนะ

สาระการเรียนรู้
           สาระที่ควรเรียนรู้
- สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
           ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กรู้จักประเภทของยานพาหนะ
2.เด็กรู้จักการแยกประเภท

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1.ครูนำรูปภาพยานพาหนะมาให้เด็กๆ ดู และทดสอบความรู้เดิม โดยการถามว่า  "ภาพนี้คือยานพาหนะอะไร"
2.ครูถามเด็ก ๆ ว่า "เด็ก ๆ เดินทางมาโรงเรียนอย่างไร"
ขั้นสอน
3.ครูอธิบายประเภทของยานพาหนะ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จากรูปภาพในขั้นนำ
4.ครูเขียนประเภทยานพาหนะบนกระดาน และให้เด็ก ๆ นำรูปภาพที่ครูนำมาให้ดู ไปแปะบนกระดาน ตามประเภทของยานพาหนะ
ขั้นสรุป
5.ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันนับจำนวนยานพาหนะแต่ละประเภทและสรุปลงช่องจำนวนด้านล่าง ของกระดาน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- รูปยานพาหนะ ทั้ง 3 ประเภท

การวัดและการประเมินผล
1.สังเกตการตอบคำถาม

การบูรณาการ
1.คณิตศาสตร์


เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
1.คำถาม
2.คำคล้องจอง
3.เพลง
4.ปริศนาคำทาย
5.นิทาน (ใช้ในเรื่องของประโยน์ หรือ โทษ หรือในเรื่องที่อธิบายโดยการสอนได้ยาก)

ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนกว้างขวาง อาจารย์แนะนำวิธีการเขียนได้อย่างเข้าใจ
การจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันที่ 1 เมษายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 
วันที่ 1 เมษายน 2559

เนื้อหา

  • ตัวแทนกลุ่มของวันจันทร์ และวันอังคาร ในแต่ละหน่วย ทั้ง 5 กลุ่ม ออกมาทดลองสอนแผนที่เขียนไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว
           แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 ผัก
กลุ่มที่ 3 ตัวฉัน
กลุ่มที่ 4 ผีเสื้อ
กลุ่มที่ 5 ผลไม้

กลุ่มยานพาหนะ ได้แผนการสอนของ วันอังคาร ในเรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ โดย สุรีย์พร สมจิตร
ขั้นนำ
1.ครูถามคำถามเด็ก โดยใช้ปริศนาคำทายจากภาพสถานที่ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ? มีปีกบินได้ พุ่งไปบนฟ้า ไม่ใช่นกกา หน้าตาแปลก ๆ  ตอบ  เครื่องบิน
- อะไรเอ่ย ? มีล้อหมุน เครื่องยนต์ก็มี ขับเร็วด่วนจี๋ ถึงที่ปปลอดภัย  ตอบ รถยนต์
- อะไรเอ่ย โลดแล่นอยู่ในแม่น้ำลำคลอง และท้องทะเล ตอบ เรือ

ขั้นสอน
2.ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับยานพาหนะ พร้อมให้เด็กดูภาพยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ถามเด็กถึงลักษณะของยานพาหนะในรูป คุณครูบันทึกลงตารางข้อมูล ไปพร้อม ๆ กัน

- สี
- ขนาด
- รูปร่าง 
- ส่วนประกอบ

ในขั้นนี้ ติดปัญหาตรง ภาพที่นำมา เป็นภาพการ์ตูน ทำให้เด็ก เปรียบเทียบรูปภาพในเรื่องของ ขนาดไม่ได้ 
คำแนะนำ ต้องนำภาพจริงหรือของจริงหรือของจำลอง(ที่สามารถนำมาได้) ใช้ในการสอนให้เด็กดู และถ้าไม่ใช่ของจริง ให้อิงกับขนาดจริงด้วย เพื่อเด็กจะได้ไม่สับสน

ขั้นสรุป
3.ครูสรุปลักษณะยานพาหนะจากตาราง ที่เด็ก ๆ ตอบคำถาม และให้เด็ก ๆ ช่วยกันนับลักษณะ ของแต่ละประเภท และแทนค่าด้วยตัวเลข เขียนลงในช่องสรุปด้านล่าง และให้เด็ก เปรียบเทียบยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ว่ามีรูปทรงอะไรเหมือนกันบ้าง




ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การทำงานร่วมกัน
  • การนำเสนอ
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปใช้สำหรับการสอนในหน่วยยานพาหนะได้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนกว้างขวาง สะอาดเรียบร้อย แต่ไม่สะดวกในด้านอุปกรณ์การสอน อาจารย์แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน และสามารถใช้จริงได้เป็นอย่างดี
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 25 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 
วันที่ 25 มีนาคม 2559

เนื้อหา

  • อภิปรายกลุ่ม โดยการจัดเก้าอี้โค้งเข้าหากลุ่มตัวเอง และโค้งใหญ่ทั้งห้องเพื่อเห็นหน้าอาจารย์เวลาเรียน และคุยปรึกษากันเรื่อง วางแผนการสอนในหน่วยของแต่ละกลุ่ม

           แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 ผัก
กลุ่มที่ 3 ตัวฉัน
กลุ่มที่ 4 ผีเสื้อ
กลุ่มที่ 5 ผลไม้


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การบรรยาย
  • การอภิปราย
การประยุกต์ใช้
  • นำไปวางแผนเพื่อทำการสอนในการจัดกิจกรรมที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เป็นกันเอง สามารถแสดงความคิดเห็นได้ 
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การสังเคราะห์
  • การอภิปราย

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 18 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 
วันที่ 18 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • Mind map หน่วยยานพาหนะ



ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้
  • ใช้วางแผนการสอนก่อนเขียนจริงในการเขียนแผนการสอนได้ในอนาคต
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ย้ายตึกเรียน จึงไม่สะดวกต่อสถานที่เล็กน้อย
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การสร้างสรรค์

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 11 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันที่ 11 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • การประดิษฐ์บล็อครูปทรงจากวัสดุเหลือใช้


การประดิษฐ์บล็อกรูปทรง



วัสดุอุปกรณ์
  1. ลังเหลือใช้
  2. กาว
  3. กรรไกร
  4. คัตเตอร์
  5. ไม่บรรทัด
วิธีทำ
  1. วัดลัง และตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 
  2. วัดจากขอบเข้ามา ขนาด 2 ซม. ทั้ง 4 ด้าน
  3. ตัดใส่ในออก ให้เหลือแค่ขอบ 2 ซม.
  4. นำใส่ในที่ตัดออก มาตัดเป็นรูปทรงต่างๆ 
  5. ทำฐานของบล็อคกระดาษ โดยตัดลังให้เท่ากับขนาดของตัวบล็อก เพื่อรอง
  6. ติดกาวฐานบล็อก กับตัวบล๊อคให้ประกบกัน
  7. ประกอบชิ้นส่วนของบล๊อกทั้งหมด ส่งอาจารย์




ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การวัด
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้
  • นำไปทำเป็นเกมการศึกษา ในเรื่องรูปร่างรูปทรง

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เพื่อนช่วยกันทำงานอย่างมีความสุข
  • ห้องกำลังปรับปรุงจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการทำกิจกรรม

การจัดการเรียนการสอน
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การวิเคราะห์
  • การสร้างสรรค์

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 4 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 
วันที่ 4 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • เกมส์การศึกษา
  • การประดิษฐ์ตารางจากวัสดุเหลือใช้


การประดิษฐ์ตารางเกมการศึกษา

วัสดุอุปกรณ์
  1. ลังเหลือใช้
  2. กระดาษขาว
  3. เทปผ้า
  4. พลาสติกใส
  5. สติกเกอร์
  6. กาว
  7. กรรไกร
  8. คัตเตอร์
  9. ที่รองตัด
วิธีทำ
  1. ตัดกระดาษลัง เป็นทรงสี่เหลี่ยม และตีตารางให้เท่ากัน
  2. ตัดแบ่งกระดาษลังทรงสี่เหลี่ยมออกเป็น 2 ส่วน 
  3. ตัดแบ่งครึ่งให้มีขนาดเท่ากัน
  4. ติดเทปผ้าเชื่อมกระดาษลังที่ตัดออกทั้ง 2 ส่วนให้ติดกัน และพับเก็บได้
  5. วัดขนาดกระดาษ ให้เท่ากับขนาดของกระดาษลังที่ตัด แล้วตีเส้นแบ่งช่องให่เท่ากัน 
  6. แปะกระดาษลงกระดาษลัง
  7. ติดสติกเกอร์แบ่งช่องตาราง
  8. เคลือบด้วยเทปใสทั้งแผ่น
ผลงาน


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การวัด
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้

  • นำไปทำสื่อสำหรับการสอนบูรณาการในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย
  • นำไปทำเป็นเกมการศึกษาได้หลายเกมในตารางเดียว เช่น หมากรุก บิงโก ต่อรูปทรงต่างๆ เป็นต้น
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เพื่อน ๆร่วมมือกันทำงานอย่างสนุกสนาน
  • ห้องกำลังปรับปรุงจึงไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าไร่

การจัดการเรียนการสอน

  • การลงมือปฏิบัติ
  • การวิเคราะห์
  • การสร้างสรรค์

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 2 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันที่ 2 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • ศึกษาดูงาน โรงเรียนพิบูลเวศม์

ห้อง อนุบาล 3 ขวบ

มุมในห้องจะมี ถ้วนยต่างๆ ในการเสริมทักษะการชั่งตวง

มีบล็อกไม้ตัวเลข

การจัดเรียงผ้าตามตำแหน่งของแต่ละคน

การจัดเรียงแปรงสีฟัน

ผลงานการตัดแปะรูปร่างของบ้าน 

ชั้น อ.1
จะมีไม้บล็อกรูปทรงต่างๆ 



มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Approch
การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่างปลาคาร์ฟกับปลาทู

มุมหนังสือ
ที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือจะมีตัวเลขแปะไว้



ทักษะ
  • จำนวนและการดำเนินการ
  • การวัด
  • เรขาคณิต 
  • พีชคณิต
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การประยุกต์ใช้

  • นำไปจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ในสาระต่างๆ ได้อย่างดี และมีไอเดียใหม่ๆ เห็นสภาพจริงของห้องเรียนเพื่อนำมาจัดสำหรับห้องเรียนได้ในอนาคต

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • สนุกสนาน
  • แปลกใหม่


การจัดการเรียนการสอน

  • การลงพื้นที่จริง
  • การศึกษาดูงาน
  • การบรรยาย

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหา

  • การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา
  • แจกไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมัน เพื่อสร้างรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ ตามคำสั่งคุณครู โดยมีกระบวนการดังนี้

  1. วิเคราะห์โจทย์
  2. ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
  3. ลงมือทำ
  4. ผลงาน
  5. นำเสนอ 

หลัก ATEM
  • S = Science
  • T = technology
  • E = engineering
  • M = mathematics
ผลงาน
 รูปสามเหลี่ยม

รูปทางสามเหลี่ยม

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า



 รูปทางสี่เหลี่ยมรูปว่าว

         เพื่อนทุกคนในห้องได้รับโจทย์มาเหมือนกัน แต่ชิ้นงานที่ออกมา มีความแตกต่างกัน เพราะ วัสดุที่ได้รับไปมีขนาดที่หลากหลาย และจินตนาการของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน ผลงานที่ออกมาจึงไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกคน ดังนั้น การจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ครูไม่ควรบังคับ หรือปิดกั้นจินตนาการเด็กๆ แต่ควรเป็นผู้ คอยช่วยเหลือ แนะนำ และคิดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีกรอบมาปิดกั้น



ทักษะ
  • คิดวิเคราะห์
  • การแก้ปัญหา
  • รูปร่าง รูปทรง

การประยุกต์ใช้


  • นำไปจัดกิจกรรม ที่มีลักษณะไม่ปิดกั้นจินตนาการของเด็ก มีวัสดุที่หลากหลายทำให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเด็มที่

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เป็นกันเอง
  • อุปกรณ์อาจไม่สมบูรณ์ 


การจัดการเรียนการสอน

  • การแสดงความคิดเห็น
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การบรรยาย

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหา

  • แจกกระดาษ ทำช่องสี่เหลี่ยมขนาด 10 x 2 ช่อง และ 10 x 4 ช่องแล้วต่อรูปให้ได้มากที่สุด 
  • ให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับสิ่งของเพื่อนำมาสร้างภาพในแผ่นกระดาษ
  • การลงมือทำที่จับต้องได้ เป็น การลงมือทำอย่างอิสระเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
  • นำเสนอบทความ
  • นำเสนอตัวอย่างการสอน
  • นำเสนอวิจัย
  • การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
นำเสนอบทความ เรื่อง การปลูกฝังลูก
  1. เสริมคณิตถ้าคิดจะซื้อ
  2. เล่นกับลูกเล่นกับเลข
  3. เข้าครัวกับตัวเลข
  4. เวลานำจำนวน
#การเรียนรู้คือการลงมือทำกับสิ่งของที่เป็นรูปธรรม

นำเสนอตัวอย่างการสอน 
แบ่งเด็กเป็น 3 ช่วงชั้น
  1. อนุบาล โดยการประดิษฐ์สัญลักษณ์
  2. ประถม โดยการเรียนให้สนุก สร้างเรื่องราวขั้น
  3. ประถมปลาย ตั้งกลุ่มเสริมสร้างความมั่นใจ (เด็กพิเศษ)
นำเสนอวิจัย การส่งเสริมทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย
  1. ผู้ปกครองชวนเด็กสำรวจสิ่งของภายในบ้านที่มีลักษณะเป็นวงกลม
  2. ผู้ปกครองถามเด็ก ให้เด็กตอบผู้ปกรอง
  3. ผู้ปกครองรายงานผลกับครูประจำชั้น

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach


ทักษะ
  • การสืบเสาะ

การประยุกต์ใช้


  • นำไปเขียนแผนการเรียนให้มีการปฏิบัติได้ลงมือกระทำ เพื่อเหมาะสมกับพัฬนาการสัมพันธฺ์กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
  • นำการจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach ไปใช้สอนจริง

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นศ.ได้คิด ได้แสดงความคิดเห็น
  • บรรยากาศครึ้มๆ อาจเกิดอาการง่วงเล็กน้อย


การจัดการเรียนการสอน

  • การแสดงความคิดเห็น
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การบรรยาย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เนื้อหา

  • ปฏิทิน
  • ตารรางเวรประจำวัน
  • เกมการศึกษา
  • นำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ทักษะ
  • การจัดหมวดหมู่
  • การคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
  • นำเพลงมาประกอบการสอนในหน่วยต่างๆ 
  • สร้างความเพลิดเพลิน
  • เก็บเด็ก

บรรยากาศในชั้นเรียน

  • มีความเป็นกันเอง


การจัดการเรียนการสอน

บันทึกการเรียน (ชดเชย) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559


บันทึกการเรียน ชดเชย
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เนื้อหา
  • กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
  • ทำตารางเวลามาโรงเรียน 

ประสบการณ์ที่เด็กได้
  • การนับ
  • จำนวน
  • ตัวเลข (ภาษา)
  • เวลา
  • การแบ่งกลุ่ม

พัฒนาการ
  • อายุ 2-3 ขวบ ครูเขียนให้เด็กดู
  • อายุ 3-4 ขวบ ทำบัตรตัวเลข
  • อายุ 4-5 ขวบ เขียนเส้นประ
#การปฏิบัติ = วิธีการเรียนรู้ของเด็ก


กรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์

          แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของสสวท. ประกอบด้วย
                สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                สาระที่ 2 การวัด
                สาระที่ 3 เรขาคณิต
                สาระที่ 4 พีชคณิต/แบบรูปความสัมพันธ์
                สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย สสวท.
                ค.ป.  1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                ค.ป.  2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
                ค.ป.  3.1 : รู้จักการใช้คำศัพท์ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
                ค.ป.  3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
                ค.ป.  4.1 : เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
                ค.ป.  5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
                ค.ป.  6.1 : มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสารและการสื่อ

การประยุกต์ใช้
  • · นำไปจัดเป็นสื่อการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้ถามและตอบคำถามด้วยตนเอง


การจัดการเรียนการสอน
  •  เรียนรู้จากประสบการณ์เดิม
  • ระดมความคิด