วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 28 เมษายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
วันที่ 28 เมษายน 2559

เนื้อหา
  • นำเสนอนิทานในหน่วยยานพาหนะของวันศุกร์ ในเรื่อง โทษของยานพาหนะ
  • วิธีการเขียนแผนการสอน


นิทานเรื่อง ลูกหมูเที่ยวทะเล



การเขียนแผน เรื่อง ยานพาหนะ

สาระที่ควรเรียนรู้ : สิ่งต่างๆ รอบตัว
เนื้อหา 
1.ประเภทของยานพาหนะ
2.ลักษณะของยานพาหนะ
3.วิธีการดูแลรักษา
4.ประโยชน์ของยานพาหนะ
5.โทษของยานพาหนะ
แนวคิด : ยานพาหนะเป็นสิ่งต่าง ๆรอบตัว  มีทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ มีลักษณะเช่น สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จะต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีทั้งประโยชน์และอันตรายที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะ


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การสังเคราะห์
  • การแก้ไขปัญหา
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
  • การนำไปสอนจริงได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนมีความสะดวกสบาย เป็นกันเอง  อาจารย์ แนะนำเทคนิควิธีการอย่างมากมายเป็นอย่างดี
การจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 22 เมษายน 2559 (ชดเชย)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
วันที่ 22 เมษายน 2559 (ชดเชย)

เนื้อหา

  • ทำนิทานจากหน่วย ในวันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของยานพาหนะ
  • เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 5 แผน ตามหน่วยของตนเอง
ผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ประเภทของยานพาหนะ วันจันทร์ ของ นางสาว ธารารัตน์ โพธิ์ประสาท

หน่วย ยานพาหนะ
เรื่อง ประเภทของยานพาหนะ
วันที่สอน วันจันทร์ ชั้น  อนุบาล 2 อายุ 5 ขวบ

วัตถุประสงค์
1.รู้จักประเภทของยานพาหนะ

สาระการเรียนรู้
           สาระที่ควรเรียนรู้
- สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
           ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กรู้จักประเภทของยานพาหนะ
2.เด็กรู้จักการแยกประเภท

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1.ครูนำรูปภาพยานพาหนะมาให้เด็กๆ ดู และทดสอบความรู้เดิม โดยการถามว่า  "ภาพนี้คือยานพาหนะอะไร"
2.ครูถามเด็ก ๆ ว่า "เด็ก ๆ เดินทางมาโรงเรียนอย่างไร"
ขั้นสอน
3.ครูอธิบายประเภทของยานพาหนะ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จากรูปภาพในขั้นนำ
4.ครูเขียนประเภทยานพาหนะบนกระดาน และให้เด็ก ๆ นำรูปภาพที่ครูนำมาให้ดู ไปแปะบนกระดาน ตามประเภทของยานพาหนะ
ขั้นสรุป
5.ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันนับจำนวนยานพาหนะแต่ละประเภทและสรุปลงช่องจำนวนด้านล่าง ของกระดาน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- รูปยานพาหนะ ทั้ง 3 ประเภท

การวัดและการประเมินผล
1.สังเกตการตอบคำถาม

การบูรณาการ
1.คณิตศาสตร์


เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
1.คำถาม
2.คำคล้องจอง
3.เพลง
4.ปริศนาคำทาย
5.นิทาน (ใช้ในเรื่องของประโยน์ หรือ โทษ หรือในเรื่องที่อธิบายโดยการสอนได้ยาก)

ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนกว้างขวาง อาจารย์แนะนำวิธีการเขียนได้อย่างเข้าใจ
การจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันที่ 1 เมษายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 
วันที่ 1 เมษายน 2559

เนื้อหา

  • ตัวแทนกลุ่มของวันจันทร์ และวันอังคาร ในแต่ละหน่วย ทั้ง 5 กลุ่ม ออกมาทดลองสอนแผนที่เขียนไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว
           แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 ผัก
กลุ่มที่ 3 ตัวฉัน
กลุ่มที่ 4 ผีเสื้อ
กลุ่มที่ 5 ผลไม้

กลุ่มยานพาหนะ ได้แผนการสอนของ วันอังคาร ในเรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ โดย สุรีย์พร สมจิตร
ขั้นนำ
1.ครูถามคำถามเด็ก โดยใช้ปริศนาคำทายจากภาพสถานที่ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ? มีปีกบินได้ พุ่งไปบนฟ้า ไม่ใช่นกกา หน้าตาแปลก ๆ  ตอบ  เครื่องบิน
- อะไรเอ่ย ? มีล้อหมุน เครื่องยนต์ก็มี ขับเร็วด่วนจี๋ ถึงที่ปปลอดภัย  ตอบ รถยนต์
- อะไรเอ่ย โลดแล่นอยู่ในแม่น้ำลำคลอง และท้องทะเล ตอบ เรือ

ขั้นสอน
2.ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับยานพาหนะ พร้อมให้เด็กดูภาพยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ถามเด็กถึงลักษณะของยานพาหนะในรูป คุณครูบันทึกลงตารางข้อมูล ไปพร้อม ๆ กัน

- สี
- ขนาด
- รูปร่าง 
- ส่วนประกอบ

ในขั้นนี้ ติดปัญหาตรง ภาพที่นำมา เป็นภาพการ์ตูน ทำให้เด็ก เปรียบเทียบรูปภาพในเรื่องของ ขนาดไม่ได้ 
คำแนะนำ ต้องนำภาพจริงหรือของจริงหรือของจำลอง(ที่สามารถนำมาได้) ใช้ในการสอนให้เด็กดู และถ้าไม่ใช่ของจริง ให้อิงกับขนาดจริงด้วย เพื่อเด็กจะได้ไม่สับสน

ขั้นสรุป
3.ครูสรุปลักษณะยานพาหนะจากตาราง ที่เด็ก ๆ ตอบคำถาม และให้เด็ก ๆ ช่วยกันนับลักษณะ ของแต่ละประเภท และแทนค่าด้วยตัวเลข เขียนลงในช่องสรุปด้านล่าง และให้เด็ก เปรียบเทียบยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ว่ามีรูปทรงอะไรเหมือนกันบ้าง




ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวิเคราะห์
  • การทำงานร่วมกัน
  • การนำเสนอ
  • การเชื่อมโยงความรู้
การประยุกต์ใช้
  • นำไปใช้สำหรับการสอนในหน่วยยานพาหนะได้
  • นำไปเขียนแผนการสอนได้
  • นำไปประยุกต์กับหน่วยอื่นได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ห้องเรียนกว้างขวาง สะอาดเรียบร้อย แต่ไม่สะดวกในด้านอุปกรณ์การสอน อาจารย์แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน และสามารถใช้จริงได้เป็นอย่างดี
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การบรรยาย
  • การแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 25 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 
วันที่ 25 มีนาคม 2559

เนื้อหา

  • อภิปรายกลุ่ม โดยการจัดเก้าอี้โค้งเข้าหากลุ่มตัวเอง และโค้งใหญ่ทั้งห้องเพื่อเห็นหน้าอาจารย์เวลาเรียน และคุยปรึกษากันเรื่อง วางแผนการสอนในหน่วยของแต่ละกลุ่ม

           แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 ผัก
กลุ่มที่ 3 ตัวฉัน
กลุ่มที่ 4 ผีเสื้อ
กลุ่มที่ 5 ผลไม้


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การบรรยาย
  • การอภิปราย
การประยุกต์ใช้
  • นำไปวางแผนเพื่อทำการสอนในการจัดกิจกรรมที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เป็นกันเอง สามารถแสดงความคิดเห็นได้ 
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การสังเคราะห์
  • การอภิปราย

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 18 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 
วันที่ 18 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • Mind map หน่วยยานพาหนะ



ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้
  • ใช้วางแผนการสอนก่อนเขียนจริงในการเขียนแผนการสอนได้ในอนาคต
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • ย้ายตึกเรียน จึงไม่สะดวกต่อสถานที่เล็กน้อย
การจัดการเรียนการสอน
  • การวิเคราะห์
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การสร้างสรรค์

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 11 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันที่ 11 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • การประดิษฐ์บล็อครูปทรงจากวัสดุเหลือใช้


การประดิษฐ์บล็อกรูปทรง



วัสดุอุปกรณ์
  1. ลังเหลือใช้
  2. กาว
  3. กรรไกร
  4. คัตเตอร์
  5. ไม่บรรทัด
วิธีทำ
  1. วัดลัง และตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 
  2. วัดจากขอบเข้ามา ขนาด 2 ซม. ทั้ง 4 ด้าน
  3. ตัดใส่ในออก ให้เหลือแค่ขอบ 2 ซม.
  4. นำใส่ในที่ตัดออก มาตัดเป็นรูปทรงต่างๆ 
  5. ทำฐานของบล็อคกระดาษ โดยตัดลังให้เท่ากับขนาดของตัวบล็อก เพื่อรอง
  6. ติดกาวฐานบล็อก กับตัวบล๊อคให้ประกบกัน
  7. ประกอบชิ้นส่วนของบล๊อกทั้งหมด ส่งอาจารย์




ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การวัด
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้
  • นำไปทำเป็นเกมการศึกษา ในเรื่องรูปร่างรูปทรง

บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เพื่อนช่วยกันทำงานอย่างมีความสุข
  • ห้องกำลังปรับปรุงจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการทำกิจกรรม

การจัดการเรียนการสอน
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การวิเคราะห์
  • การสร้างสรรค์

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 4 มีนาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 
วันที่ 4 มีนาคม 2559

เนื้อหา
  • เกมส์การศึกษา
  • การประดิษฐ์ตารางจากวัสดุเหลือใช้


การประดิษฐ์ตารางเกมการศึกษา

วัสดุอุปกรณ์
  1. ลังเหลือใช้
  2. กระดาษขาว
  3. เทปผ้า
  4. พลาสติกใส
  5. สติกเกอร์
  6. กาว
  7. กรรไกร
  8. คัตเตอร์
  9. ที่รองตัด
วิธีทำ
  1. ตัดกระดาษลัง เป็นทรงสี่เหลี่ยม และตีตารางให้เท่ากัน
  2. ตัดแบ่งกระดาษลังทรงสี่เหลี่ยมออกเป็น 2 ส่วน 
  3. ตัดแบ่งครึ่งให้มีขนาดเท่ากัน
  4. ติดเทปผ้าเชื่อมกระดาษลังที่ตัดออกทั้ง 2 ส่วนให้ติดกัน และพับเก็บได้
  5. วัดขนาดกระดาษ ให้เท่ากับขนาดของกระดาษลังที่ตัด แล้วตีเส้นแบ่งช่องให่เท่ากัน 
  6. แปะกระดาษลงกระดาษลัง
  7. ติดสติกเกอร์แบ่งช่องตาราง
  8. เคลือบด้วยเทปใสทั้งแผ่น
ผลงาน


ทักษะ
  • การวางแผน
  • การวางแก้ปัญหา
  • การวัด
  • การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้

  • นำไปทำสื่อสำหรับการสอนบูรณาการในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย
  • นำไปทำเป็นเกมการศึกษาได้หลายเกมในตารางเดียว เช่น หมากรุก บิงโก ต่อรูปทรงต่างๆ เป็นต้น
บรรยากาศในชั้นเรียน
  • เพื่อน ๆร่วมมือกันทำงานอย่างสนุกสนาน
  • ห้องกำลังปรับปรุงจึงไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าไร่

การจัดการเรียนการสอน

  • การลงมือปฏิบัติ
  • การวิเคราะห์
  • การสร้างสรรค์